วันจันทร์ที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2551

ใบความรู้ที่ 8

การนำมัลติมิเตอร์ไปใช้งาน


สารบัญเนื้อหา

8.1คุณสมบัติของมัลติมิเตอร์
8.2 การวัดแรงดันไฟตรง
8.3 การวัดแรงดันไฟสลับ
8.4 การวัดกระแสไฟตรง
8.5 การวัดความต้านทาน


8.1 คุณสมบัติของมัลติมิเตอร์

มัลติมิเตอร์เป็นมิเตอร์ที่มีความสำคัญต่อการใช้งาน สำหรับการวัดค่าปริมาณไฟฟ้าต่างๆ เช่น แรงดันไฟตรง แรงดันไฟสลับ กระแสไฟตรง และความต้านทาน เป็นต้น นอกจากนั้นมัลติมิเตอร์หลายรุ่น หลายแบบ และหลายยี่ห้อ ถูกพัฒนามาให้ใช้งานได้กว้างขวางมากขึ้น สามารถตรวจสอบ ตรวจวัดหาค่าต่างๆ ของอุปกรณ์ ตรวจวัดดี-เสีย ตรวจวัดการต่อหรือขาดของวงจร รวมถึงตรวจวัดคุณภาพของอุปกรณ์ไฟฟ้าบางอย่างได้
ความสำคัญของการใช้งานมัลติมิเตอร์อยู่ที่วิธีการใช้งานที่ถูกต้อง การวัดค่า การอ่านค่าปริมาณไฟฟ้าต่างๆ จึงจะได้ค่าที่แท้จริงออกมา แม้ว่ามัลติมิเตอร์แต่ละรุ่น แต่ละยี่ห้อ และแต่ละบริษัทจะมีส่วนประกอบโครงสร้าง ลักษณะวงจร และรายละเอียดต่างๆ ของเครื่องแตกต่างกัน แต่การนำไปใช้งาน การวัดค่า การอ่านค่า มีหลักการที่เหมือนกัน ดังนั้นการศึกษาหลักการใช้งานของมัลติมิเตอร์เพียงรุ่นใดรุ่นหนึ่งให้เข้าใจถูกต้อง ก็สามารถนำหลักการไปใช้งานได้กับมัลติมิเตอร์รุ่นอื่นๆ ได้ การใช้งานมัลติมิเตอร์ในบทนี้ เป็นเรื่องมัลติมิเตอร์ของซันวารุ่น yx – 361TR ตำแหน่งย่านวัดค่าที่ถูกเลือกด้วยสวิตช์เลือกย่านวัด ในการวัดปริมาณไฟฟ้าที่ต้องการ แสดงดังรูปที่8.1

รูปที่8.1 หน้าปัดย่านวัดของมัลติมิเตอร์ซันวารุ่น yx – 361TR

8.2 การวัดแรงดันไฟตรง

การวัดแรงดันไฟตรง ตั้งสวิตช์เลือกย่านวัดไปที่ DCV มัลติมิเตอร์ซันวารุ่น yx – 361 TR มีทั้งหมด 7 ย่านวัดเต็มสเกล คือ ย่าน 0.1V, 0.5V, 2.5V, 10V, 50V, 250V และ 1,000V อ่านค่าแรงดันที่สเกล DCV, A & ACV การวัดปฏิบัติดังนี้
1. สายวัดสีแดงเสียบเข้าที่ขั้วต่อขั้วบวก (+) สายวัดสีดำเสียบเข้าที่ขั้วต่อขั้วลบ (-COM) ของมิเตอร์ การวัดค่าใช้สายวัดทั้งสองขั้วไปวัดค่าแรงดัน
2. ปรับสวิตช์เลือกย่านวัดไปย่านที่เหมาะสม หากไม่ทราบค่าแรงดันไฟตรง ให้ตั้งย่านวัดย่านสูงสุดไว้ก่อนที่ 1,000V
3. การวัดแรงดันไฟตรง ต้องนำมิเตอร์ไปต่อขนานกับวงจร และต้องคำนึงถึงขั้วมิเตอร์ขณะต่อวัด โดยยึดหลักการวัดดังนี้ ใกล้บวกต่อบวก ใกล้ลบต่อลบ การต่อมัลติมิเตอร์วัดแรงดันไฟตรง แสดงดังรูปที่8.2 การอ่านค่าและการใช้สเกลย่านวัด แสดงดังตารางที่8.1

รูปที่8.2 การต่อมัลติมิเตอร์วัดแรงดันไฟตรง

ตารางที่8.1 การอ่านค่าและการใช้สเกลย่านวัดแรงดันไฟตรง

ย่านตั้งวัด
สเกลใช้อ่าน
การอ่านค่า
ค่าที่วัดได้
0.1V
0.5V
2.5V
10V
50V
250V
1,000V
0-10
0-50
0-250
0-10
0-50
0-250
0-10
ใช้ 0.01 คูณค่าที่อ่านได้
ใช้ 0.01 คูณค่าที่อ่านได้
ใช้ 0.01 คูณค่าที่อ่านได้
อ่านโดยตรง
อ่านโดยตรง
อ่านโดยตรง
ใช้ 100 คูณค่าที่อ่านได้
0-0.1V
0-0.5V
0-2.5V
0-10V
0-50V
0-250V
0-1,000V

8.3 การวัดแรงดันไฟสลับ

การวัดแรงดันไฟสลับ ตั้งสวิตทช์เลือกย่านไปที่ ACV มัลติมิเตอร์ซันวารุ่น yx-361TR มีทั้งหมด 5 ย่านวัดเต็มสเกลคือย่าน 2.5V, 10V, 50V, 250V และ 1,000V ย่าน 2.5V อ่านค่าที่สเกล AC 2.5V โดยเฉพาะ ส่วนย่านอื่นๆ อ่านที่สเกล DCV, A & ACV การวัดปฏิบัติดังนี้
1. ขั้วต่อสายวัดของมิเตอร์ยังคงใช้ที่ขั้วบวก (+) และขั้วลบ (-COM) เหมือนการวัด แรงดันไฟตรง แต่ขณะวัดแรงดันไม่ต้องคำนึงถึงขั้วบวก, ลบ เพราะแรงดันไฟสลับไม่มีขั้วตายตัว ขั้วสลับไปสลับมาตลอดเวลา
2. ปรับสวิตช์เลือกย่านวัดไปย่านที่เหมาะสม หากไม่ทราบค่าแรงดันไฟสลับให้ตั้งย่านวัดที่ย่านสูงสุดไว้ก่อนที่ 1,000V
3. การวัดแรงดันไฟสลับต้องนำมิเตอร์ไปต่อขนานกับวงจรโดยไม่ต้องคำนึงถึงขั้ววัด ย่านวัดของ ACV การต่อมัลติมิเตอร์วัดแรงดันไฟสลับสามารถต่อวัดสลับขั้วได้ แสดงดังรูปที่8.3 การอ่านค่าและการใช้สเกลย่านวัด แสดงดังตารางที่8.2

รูปที่8.3 การต่อมัลติมิเตอร์ วัดแรงดันไฟสลับ

ตารางที่8.2 การอ่านค่าและการใช้สเกลย่านวัดแรงดันไฟสลับ

ย่านตั้งวัด
สเกลใช้อ่าน
การอ่านค่า
ค่าที่วัดได้
2.5V
10V
50V
250V
1,000V
0-2.5
0-10
0-50
0-250
0-10
อ่านโดยตรง
อ่านโดยตรง
อ่านโดยตรง
อ่านโดยตรง
ใช้ 100 คูณค่าที่อ่านได้
0-2.5V
0-10V
0-50V
0-250V
0-1,000V

8.4 การวัดกระแสไฟตรง

การวัดกระแสไฟตรง ตั้งสวิตช์เลือกย่านไปที่ DCmA มัลติมิเตอร์ซันวารุ่น yx-361TR มีทั้งหมด 4 ย่านวัดเต็มสเกล คือ ย่าน 50?A (0.1VDC), 2.5mA, 25mA และ 0.25A (250mA) อ่านค่ากระแสที่สเกล DCV, A & ACV การวัดปฏิบัติดังนี้
1. สายวัดสีแดงเสียบเข้าที่ขั้วต่อขั้วบวก (+) สายวัดสีดำเสียบเข้าที่ขั้วต่อขั้วลบ (-COM) ของมิเตอร์ การวัดค่าใช้สายวัดทั้งสองขั้วไปวัดค่ากระแส
2. ปรับสวิตช์เลือกย่านวัดไปย่านที่เหมาะสม หากไม่ทราบค่ากระแสไฟตรง ให้ตั้งย่านวัดที่ย่านสูงสุดไว้ก่อนที่ 0.25A
3. การวัดกระแสไฟตรง ต้องนำมิเตอร์ไปต่ออนุกรมกับวงจร และต้องคำนึงถึงขั้วของมิเตอร์ขณะต่อวัดโดยยึดหลักดังนี้ ใกล้บวกต่อบวก ใกล้ลบต่อลบ การต่อมัลติมิเตอร์วัดกระแสไฟตรง แสดงดังรูปที่8.4 การอ่านค่าและการใช้สเกลย่านวัด แสดงดังตารางที่8.3

รูปที่8.4 การต่อมัลติมิเตอร์วัดกระแสไฟตรง

ตารางที่8.3 การอ่านค่าและการใช้สเกลย่านวัดกระแสไฟตรง

ย่านตั้งวัด
สเกลใช้อ่าน
การอ่านค่า
ค่าที่วัดได้
50?A (0.1V)
2.5mA
25mA
0.25A (250mA)
0-50
0-250
0-250
0-250
อ่านโดยตรงในหน่วย ?A
ใช้ 0.01 คูณค่าที่อ่านได้ในหน่วย mA
ใช้ 0.1 คูณค่าที่อ่านได้ในหน่วย mA
อ่านโดยตรงในหน่วย mA
0-50?A
0-2.5mA
0-25mA
0-250mA

8.5 การวัดความต้านทาน

การวัดความต้านทาน ตั้งสวิตช์เลือกย่านไปที่ มัลติมิเตอร์ซันวารุ่น yx-361TR มีทั้งหมด 5 ย่านวัด คือ ย่าน x1, x10, x100, x1k และ x10k อ่านค่าความต้านทานที่สเกล การวัดปฏิบัติดังนี้
1. โครงสร้างเบื้องต้นของโอห์มมิเตอร์ในมัลติมิเตอร์ ประกอบด้วยแบตเตอรี่ (ถ่านไฟฉาย) 2 ชุด คือชุดแบตเตอรี่ 3V (1.5V x 2) ใช้กับย่านวัด ย่าน x1, x10, x100 และ x1k ส่วนชุดแบตเตอรี่ 9V ถูกต่ออนุกรมร่วมกับชุด 3V เพื่อใช้งานย่านวัด ย่าน x10k แบตเตอรี่ ทั้ง 2 ชุด ต่ออนุกรมร่วมกับตัวต้านทานปรับค่าได้ 0 ADJ และต่ออนุกรมร่วมกับชุดขดลวดเคลื่อนที่ของมิเตอร์ โครงสร้างเบื้องต้นของโอห์มมิเตอร์ในมัลติมิเตอร์ แสดงดังรูปที่8.5

รูปที่8.5 โครงสร้างเบื้องต้นย่านวัดโอห์มของมิเตอร์ซันวา

2. สายวัดสีแดงเสียบเข้าที่ขั้วต่อขั้วบวก (+) สายวัดสีดำเสียบเข้าที่ขั้วต่อขั้วลบ (-COM) ของมิเตอร์ การวัดความต้านทานใช้สายวัดทั้งสองไปวัดค่า
3. ก่อนนำโอห์มมิเตอร์ไปใช้วัดตัวต้านทานทุกครั้ง และทุกย่านที่ตั้งวัดโอห์ม ต้องปรับแต่งเข็มชี้ของมิเตอร์ชี้ค่า 0 ก่อน ขณะช็อตปลายสายวัดดำ, แดง เข้าด้วยกัน โดยปรับที่ปุ่ม 0 ADJ แสดงดังรูปที่8.6

รูปที่8.6 ช็อตสายวัดเข้าด้วยกันเพื่อปรับแต่งโอห์มมิเตอร์ได้ 0 พอดี

รูปที่8.7 การวัดความต้านทานด้วยมัลติมิเตอร์ ตั้งย่านวัดโอห์ม()

4. สามารถนำโอห์มมิเตอร์ไปวัดค่าความต้านทานได้อย่างถูกต้อง ค่าที่อ่านออกมาได้จากโอห์มมิเตอร์คือค่าความต้านทานของตัวต้านทานนั้น การวัดค่าความต้านทานด้วยมัลติมิเตอร์ แสดงดังรูปที่8.7 การอ่านค่าและการใช้สเกลย่านวัด แสดงดังตารางที่8.4

ตารางที่8.4 การอ่านค่าและการใช้สเกลย่านวัดความต้านทาน

ย่านตั้งวัด

สเกลใช้อ่าน

การอ่านค่า

ค่าที่วัดได้

x1
x10
x100
x1k
x10k

0-

อ่านโดยตรง
ใช้ 10 คูณค่าที่อ่านได้
ใช้ 100 คูณค่าที่อ่านได้
อ่านโดยตรงในหน่วย k
ใช้ 10 คูณค่าที่อ่านได้ในหน่วย k

0-2k
0-20k
0-200k
0-2M
0-20M

2 ความคิดเห็น:

pansakput@gmail.com กล่าวว่า...

หนังสือเล่มนี้ชื่อ เครื่องมือวัดไฟฟ้า เจ้าของลิขสิทธิ์คือ อ. พันธ์ศักดิ์ พุฒิมานิตพงศ์
สนใจหนังสือเล่มนี้ซื้อได้ที่ ศูนย์ส่งเสริมอาชีวะ (ศสอ) โทร 02-224-1129 มีรายละเอียดมากกว่านี้

ThaiRoyalVanka กล่าวว่า...

***********************************************************
มัลติมิเตอร์ , ดิจิตอลมัลติมิเตอร์ , อนาล็อกมัลติมิเตอร์ , แคลมป์มิเตอร์
***********************************************************
----> http://www.smtinter.com/
----> https://www.sgb.co.th/
----> https://www.shw.co.th/